วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
ประจำวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

        วันนี้อาจารย์ได้สั่งให้ทำมายแม็พปิ๊งเรื่อง ความรู้ที่ได้รับจากวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้สอนทบทวนเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการทำข้อสอบ และเป็นวันสุดท้ายของการเรียน และปิดคอร์ส
บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
ประจำวันที่ 20 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้อาจารย์ได้ให้กระดาษ 2 แผ่น โดยให้เขียนแผนการเรียนหนึ่งหน่วย ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเรื่อง นม
ซึ่ง นม ประกอบไปด้วย
ที่มา : นมจากสัตว์ คือ วัว ควาย แพะ อุฐ จามรี และ นมจากพืช คือ ถั่วเหลือง ข้าวโพด งา ถั่วเขียว ข้าวฝาง
รสชาติ : สติเบอรรี่ ช็อตโกแลต ส้ม กาแฟ วานิลลา โยเกิรต์ นมเปรี้ยว
ประโยชน์ : 
    1. ร่างกายเจริญเติบโตและแข็งแรง
    2. สร้างภูมิคุ้มกัน
    3.มีแคลเซียม
    4.บำรุงกระดูกและฟัน

ส่วนประกอบของแผนจะประกอบด้วย 

      ชื่อแผน
       วัตถุประสงค์
       สาระการเรียนรู้
       วิธีดำเนินการ
          - ขั้นนำ
          - ขั้นสอน
       สรุป
       ประเมิน

และการนำเสนอหน้าห้อง



บันทึกอนุทินครั้งที่  13
ประจำวันที่  13  เดือน  กันยายน  พ.ศ.  2556

การออกแบบมุมต่าง ๆ
           
      วันนี้อาจารย์ได้มีการให้นักเรียนออกแบบมุมต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จัดทำมุมศิลปะ

โดยได้กำหนดหัวข้อดังนี้
        
      1.มุมศิลปะ  คือ เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากการสร้างสรรค์การแสดงออกทางงานศิลปะได้ภาษาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง


     2.มุมสัตว์  คือ ได้เรียนรู้ผ่านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสังเกตได้อิสระในการเรียนรู้มุมต่างๆโดยแต่ละสิ่งก็จะมีป้ายชื่อแปะติดบอกชื่อของสิ่งนั้นๆแล้วภาษาก็จะซึมผ่านการเรียนรู้ของเด็กไปโดยบริยาย


      3.มุมดอกไม้  คือ เด็กได้ภาษาจากการที่เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ดอกไม้และธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพืชหรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้ โดยในมุมดอกไม้นี้ก็จะมีป้ายชื่อบอกชื่อของดอกไม้ชนิดนั้นๆติดอยู่ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


       4.มุมบทบาทสมมุติ  คือ เด็กจะได้ภาษาจากการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นผ่านการ    แสดงบทบาทสมมุติ ตัวเด็กจะได้ทั้ง ทักษะทางด้านการฟัง ทักษะทางด้านภาษาทั้งภาษาคำพูด และภาษาทางด้านร่างกาย ฝึกการกล้าแสดงออก ในมุมนี้ก็จะมีสิ่งของต่างๆให้เด็ก ได้เล่น ได้หยิบ ได้จับ ได้ใช้ประสารทสัมผัสทั้ง 5 ของตนเองในการเรียนรู้

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของหัวข้อเท่านั้นคะ ยังไม่ใช่หัวข้อที่มีทั้งหมด


   บันทึกอนุทินครั้งที่  12 
ประจำวันที่  6  เดือน  กันยายน   พ.ศ.  2556

ก่อนเข้าบทเรียนได้มีการเล่นเกมเล็ก ๆ   โดยการให้ตัวแทนออกไปหน้าห้องแล้วทำท่าสัตว์ต่าง ๆ แล้วให้เพื่อนทายว่าเป็นสัตว์อะไร  และ  เมื่อเพื่อนทายถูกให้ทำเสียงสัตว์นั้น ๆ
  • การจัดสภาพแวดล้อมพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
         สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษา  อย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม โดยไม่บังคับเด็ก และ
    ไม่เน้นเนื้อหาเด็กจะได้ภาษาในระหว่างที่ทำกิจกรรมและการเล่นในห้อง
  • หลักการ
         
    ได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง  ไม่บังคับ  และการจัดสื่อภายในห้อง ต้องทำให้เมื่อเด็กเห็นจะต้องทำให้เด็กเกิดความสงสัย
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์
          เด็กจะต้องได้ทำกิจกรรมนี้ร่วมกัน เพื่อให้เด็กได้มีการฝึกทักษะการพูด และการทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ 
  • สิ่งแวดล้อมที่ควรเน้น
            จัดไว้อย่างมีความหมายและเหมาะสมในห้องเรียน เมื่อเด็กมีการใช้คำพูดผิดพลาดเกิดขึ้น ไม่ควรที่จะ ดุด่า  แต่ต้องค่อย ๆ สอน และปรับไปเรื่อย ๆ  
  • มุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมภาษาและลักษณะการจัดมุมภายในห้องเรียน
           มุมนั้น ๆ  ต้องจัดให้เด็กได้ประสบการณ์ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน และต้องมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีความรู้สึกผ่อคลาย  น่าสนใจ และ ควรมีอุปกรณที่เหมาะกับมุมนั้น ๆ ด้วย เช่น มุมวาดเขียน มี ดินสอสี สมุดวาดภาพ เป็นต้น(  ทุกอย่างที่วางไว้ต้องผ่านการสอนในวิธีการใช้ทุกชิ้น  เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับเด็ก  ) และที่สำคัญคือ เด็ก ๆ ต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำมุมนั้น ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ทำร่วมกัน
ตัวอย่างมุมต่าง ๆ 
      
       มุมหนังสือ


มุมบทบาทสมมุติ 


มุมศิลปะ


             และนี่คือตัวอย่างการจัดมุมต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ให้ความสนใจ แต่ที่สำคัญนั้น ต้องอย่าลืมเน้นในเรื่องการเขียนที่ถูกต้อง การอ่าน การให้เวลากับเด็ก ๆ เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีความไว้ใจในตัวของครูด้วย

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

     บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  11
ประจำวันที่  30  เดือน  สิงหาคม  พ.ศ.  2556

ในวันนี้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อผลิตสื่อ  1  ชิ้น

              กลุ่มของดิฉันได้จัดทำ โดมิโนผลไม้
                     ประโยชน์ที่ได้ คือ  ได้สื่อสารกันในการพูดว่าผลไม้อะไรต่อกับอะไร  เช่น  แตงโมต่อแตงโม   ส้มต่อส้ม  อื่น ๆ


และนี่คือผลงานต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ 






บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  10
ประจำวันที่  23  เดือน  สิงหาคม  พ.ศ.  2556

สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

ความหมาย
       วัสดุ / อุปกรณ์  หรือวิธีการต่าง ๆ หรือเครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น  เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา  ประสบการณ์  แนวคิด  ทักษะ  และเจตคติ เพื่อกระตุ้น  ส่งเสริม  จูงใจ  เพื่อให้เกิดความสนใจ

ความสำคัญ         
      เด็กเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัส เข้าใจเนื้อหา  จำได้ง่าย  เร็ว  และนาน

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
       1.  สื่อสิ่งพิมพ์
                  คือ สื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากการทำเป็นในรูปแบบของตัวอักษร โดยวิธีต่าง ๆ เช่น สมุดภาพ ก - ฮ
       2.   สื่อวัสดุอุปกรณ์  (  ดีที่สุด  )
                 คื่อ  สื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากการนำวัสดุ อุปกรณ์ ต่าง ๆ มาทำเป็นสื่อการสอน เช่น กล่องสี่เหลี่ยม เป็นต้น
       3.   สื่อโสตทัศนูปกรณ์   (  ไม่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย  )   
                 วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ เพื่อช่วยให้การเขียน การพูดการอภิปรายนั้น       เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น    
       4.   สื่อกิจกรรม    (  เด็กได้ลงมือ  )       
                 เกม  เพลง  การสาธิ  สถานการณ์จำลอง  การแสดง  ละคร  การจัดนิทรรศการ  อื่น ๆ  เพื่อให้เด็กได้ฝึกใช้                  กระบวนการคิด / ปฏิบัติ / การเผชิญ / สถานการณ์          
       5.   สื่อบริบท   (  มีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  )     
                มีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม  เช่น  ภาษาถิ่นของแต่ละภาค  การแต่งกายของแต่ละภาค  อาหารการกินของแต่ละภาค  อื่น ๆ

กิจกกรมก่อนเรียน

        ให้นักเรียนวาดรูปพร้อมเขียนคำศัพท์เป็นภาษาไทยด้านล่าง   จากนั้น   พลิกกลับด้านหลังวาดรูปด้านหลังของสิ่งที่วาดพร้อมเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านล่าง

ผลงานของดิฉัน



บันทึกอนุทินครั้งที่  9
 ประจำวันที่ 16  เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

 ++ กิจกรรมระหว่างเรียน ++ 
- แบ่งกลุ่มเป็น  4  กลุ่ม ภายในห้องเพื่อผลิตสื่อ ในหัวข้อ อาเซียน

กลุ่มของดิฉันได้จัดทำธงในกลุ่มประเทศอาเซียน

โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.แบ่งงานกันทำ

2.เริ่มการร่างแบบธง

3.ระบายสี และแปะลงบนกระดาษแข็งที่เตรียมไว้
**ในกรณีนี้ ครูควรค่อยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเกิดอันตรายแก่เด็กได้**

4.  เขียนคำทักทายของแต่ละประเทศลงบนกระดาษ
**ในกรณีนี้ ครูควรให้คำแนะนำ หรือช่วยในเรื่องของการเขียนต่าง ๆ **

ชิ้นงานสำเร็จของแต่ล่ะกลุ่ม




คำทักทายของ 10 ประเทศในอาเซียน



บรูไนและมาเลเซีย

           ซาลามัด ดาตัง (หมายเหตุ บรูไนและมาเลเซียใช้ภาษาเดียวกัน)  หมายถึง สวัสดี

กัมพูชา

           อรุณซัวซะเดย หมายถึง สวัสดีตอนเช้า
           ทิวาซัวซะเดย หมายถึง สวัสดีตอนเที่ยงจนถึงเย็น

อินโดนีเซีย

           เซลามัทปากิ หมายถึง สวัสดีตอนเช้า
           เซลามัทซิแอง หมายถึง สวัสดีตอนเที่ยง
           เซลามัทซอร์ หมายถึง สวัสดีตอนเย็น
           เซลามัทมายัม หมายถึง สวัสดีตอนค่ำ

ลาว

           สะบายดี  หมายถึง สวัสดี

พม่า

           มิงกะลาบา หมายถึง สวัสดี                                    

ฟิลิปปินส์

           กูมูสต้า หมายถึง สวัสดี

สิงคโปร์

           หนี ห่าว (ใช้เหมือนจีน เพราะประชากรส่วนใหญ่ในสิงคโปร์เป็นชาวจีน) หมายถึง สวัสดี

ไทย

           สวัสดี

เวียดนาม

           ซินจ่าว หมายถึง สวัสดี   

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความอนุทิน ครั้งที่ 8 วันที่ 9/08/56

กิจกรรมระหว่างเรียน
         ทำหนังสือนิทานร่วมกันทั้งห้อง  โดยแบ่งกลุ่ม 4-5 คน    โดยตั้งชื่อว่า "ลูกหมูแสนซน"

        โดยกิจกรรมนี้จะทำให้เด็กมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน  ฝึกกล้ามเนื้อมือจากการระบายสี  ฝึกภาษาจากการพูดคุยกับเพื่อน  ฝึกสมาธิ  ฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์

        คือ  กิจกรรมที่สามารถพัฒนาเด็กได้โดยองค์รวม


บันทึกอนุทินครั้งที่  7 วันที่ 26/07/56

 การประเมิน
1.           ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย 
2.            เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก        
3.             ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.              ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5.              ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.              ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ตัวอย่าง  กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
-            การเขียนตามคำบอก
-          ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-          อ่านนิทานร่วมกัน
-          เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว  เตือนความจำ
-          อ่านคำคล้องจ้อง
-          ร้องเพลง
-          เล่าสู่กันฟัง
-          เขียนส่งสารถึงกัน


บรรทึกอนุทินครั้งที่ 6 วันที่ 19/07/56
              การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

1.เน้นทักษะทางภาษา
        การให้เด็กรู้จักส่วนย่อยของภาษา เช่น การประสมคำ ความหมายของคำ เป็นต้น

    Kenneth   Goodman
        ได้เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างภาษากับชีวิต

    ธรรมชาติของเด็กประถมวัย
        มีความสนใจ อยากรู้อยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Lenguage.)
        การสอนแบบภาษาธรรมชาติ คือ การสอนโดยทำให้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวกลายมาเป็นความรู้ โดยสอนคล้องกับการใช้ชีวิต โดยไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะต้องมีการเรียนรู้เหมือนกัน

    การสอน
        เริ่มจากการจัดกิจกรมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน มีการตอบคำถาม เพื่อให้เด็กได้ตั้งใจฟัง แล้วสนใจในสิ่งที่ครูนำเสนอ

    การอ่านจะต้องมีผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
        โดยครั้งแรกครูควรอ่านเพื่อให้เด็กเข้าใจถึงเนื้อหา  แต่ถ้ามีหนังสือให้เด็กได้ดูจะทำให้เด็กเข้าใจถึงประโยคนั้น

    การยอมรับถึงคำพูด ความคิดการเขียนของเด็ก โดยไม่มีการดุด่า เพื่อให้เด็กไม่เกิดการกลัวที่จะเขียน หรือคิดในสิ่งที่ตัวเองอยากเขียน และคิด

     การเขียน
         เด็กจะต้องมีส่วนร่วมในการเขียน เช่น ครูเขียนตามคำบอกของนักเรียน เป็นต้น

ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนแบบธรรมชาติ
        เด็กจะมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ การลงมือทำ จากกิจกรรมการเคลื่อนไหว และสังคม

การสอนภาษาธรรมชาติ
        คือ การสอนโดยใช้สิ่งต่าง ๆ ที่อยูรอบตัวเด็ก ที่เด็กสนใจ และการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม โดยไม่มีการบังคับ

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
         นฤมน  เนียนหอม  (2540)
  1.การจัดสภาพแวดล้อม
  2.การสื่อสารที่มีความหมาย
  3.การเป็นแบบอย่าง
  4.การตั้งความหวัง
  5.การค่ดคะเน
  6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
  7.การยอบรับนับถือ
  8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้-->ผู้อำนวยความสะดวก-->ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเด็ก

บทบาทครู
  ครูไม่ควรคาดหวังกับเด็ก  ควรยอมรับ และสร้างความเชื่อมั่น และสนับสนุน การอ่าน การเขียน ให้กับเด็ก



วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน

        สัปดาห์ที่  5  ประจำวันที่  12  เดือน  กรกฎาคม  พ.ศ.2556

เรื่อง  วิธีการเรียนรู้ของเด็ก

        องค์ประกอบของภาษา  เสียง  ความหมาย  ไวยากรณ์  การนำไปใช้
แนวคิดนักการศึกษา
  1. เชื่อว่า  สิ่งแวดล้มมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กปฏิบัติตามได้
  2. เชื่อว่า  เด็กเรียนรู้จากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  คนรอบข้างมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  3. เชื่อว่า  ความพร้อมทางด้านร่างกาย  วุฒิภาวะ  มีส่วนช่วยในการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
  4. เชื่อว่า  ภาษาติดตัวเด้กมาตั้งแต่เกิด  เด็กมีการเรียนรู้ภาษาตั้งแต่แรกเริ่ม
บันทึกอนุทิน

              สัปดาห์ที่ 4 ประจำวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม .. 2556

เรื่อง  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

กลุ่มดิฉันพรีเซีนต์เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ค่ะ 
ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาประกอบไปด้วย 2 ประเภท ใหญ่คือ
1. พัฒนาการทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัย
2. พัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย


ในส่วนแรกนะค่ะ คือ พัฒนาการทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัย คือ ในเด็กวัยนี้จะมีความสามารถในการรับรู้ตลอดจนความคิดคำนึงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระยะนี้เป็นระยะของการที่เด็กเตรียมตัวเพื่อให้ต่อการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา สืบต่อไปค่ะ และ ส่วนที่สอง พัฒนาการทางด้านความคิดความเข้่ใจของเด็กปฐมวัย คือ พัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย เด็กในระยะนี้นะค่ะ เป็นระยะของการแก้ไขปัญหาด้วยความรับรู้และยังไม่ใช่เหตุผลค่ะ




เพื่อนคนแรก พูดเกริ่นนำ และแนะนำสมาชิกในกลุ่ม ค่ะ


ดิฉันพูดเนื้อหาของตนเองที่ได้รับมอบหมาย


เพื่อนๆในกลุ่มกำลังช่วยกันดู วีดิโอที่นำเสนอ 

บันทึกอนุทิน  
    
สัปดาห์ที่  3  ประจำวันที่ 28   เดือน  มิถุนายน  .. 2556

   ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย









 บันทึกอนุทิน 
                            
          สัปดาห์ที่  2    ประจำวันที่ 21  เดือน  มิถุนายน  .. 2556

เรื่องความหมายของภาษา

  ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่ทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจกัน  และเป็นแหล่งของการเรียนรู้
ทักษะทางภาษา  ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน
   กระบวนการเรียนรู้ภาษามี 2 กระบวนการ
  1. การดูดซึม
  2. การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ
เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้และมีพัฒนาการทางด้านภาษาไปเรื่อย ๆ ครู/ผู้ปกครอง จะต้องคอยแนะนำเด็กอยู่เสมอ
บันทึกอนุทิน

สัปดาห์ ที่ 1 ประจำวันที่ 14 เดือน  มิถุนายน  .. 2556

เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  
                        
            อาจารย์ให้ทำ My  mapping ในหัวข้อเรื่อง การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  
โดยการแบ่งกลุ่ม